โลโก้สำนักวิชา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมเกษตร

ชื่อหลักสูตร
ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมเกษตร
ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Doctor of Philosophy Program in Agro-Industry

ชื่อปริญญาและสาขา

ภาษาไทย : 

   

ชื่อเต็ม     
ชื่อย่อ      

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (อุตสาหกรรมเกษตร)
ปร.ด. (อุตสาหกรรมเกษตร)

ภาษาอังกฤษ :

ชื่อเต็ม    
ชื่อย่อ      

Doctor of Philosophy (Agro-Industry)
Ph.D. (Agro-Industry)

 ปรัชญา/ความสำคัญ  
      หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมเกษตร มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตที่สามารถพัฒนานวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้เชิงลึกด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หรือเทคโนโลยีชีวภาพ และมีความสามารถสูงได้มาตรฐานระดับสากลในการพัฒนานวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัย สามารถบูรณาการศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเป็นเสิศทางวิชาการและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นผู้ที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ
     อุตสาหกรรมเกษตรมีบทบาทที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากทำให้เกิดการเชื่อมโยงการผลิตระหว่างภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับโครงสร้างและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย ที่มุ่งเน้นให้เกิดการสร้างความมั่นคงทางอาหารและพลังงาน เชื่อมโยงการผลิตกับอุตสาหกรรมที่เป็นฐานรายได้ของประเทศ พัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ การถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยไปสู่ศูนย์กลางการผลิตและบริการทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล อย่างไรก็ดีการพัฒนาประเทศเพื่อให้มีความเข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และพัฒนาให้มีศักยภาพในการแข่งขันกับนานาประเทศได้นั้น จำเป็นต้องอาศัยทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพและมีความรู้ความสามารถสูง โดยเฉพาะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ดังนั้นหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมเกษตร ซึ่งเน้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ จึงเป็นหลักสูตรเพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีทักษะและความสามารถด้านการวิจัยขั้นสูง การพัฒนานวัตกรรมและสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพอย่างมีคุณภาพและต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของโครงสร้างและทิศทางของประเทศ อันจะนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

 วัตถุประสงค์
1) เพื่อผลิตดุษฏีบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หรือเทคโนโลยีชีวภาพสู่สังคม
2) เพื่อผลิตดุษฏีบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในระดับสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหาร หรือเทคโนโลยีชีวภาพ มีทักษะและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สามารถทำวิจัยขั้นสูงเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และพัฒนานวัตกรรม เพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากล
3) เพื่อผลิตดุษฏีบัณฑิตที่มีความสามารถและศักยภาพสูงในการบูรณาการและประยุกต์ใช้เทคนิคการวิจัยและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และการพัฒนาที่ยั่งยืน
4) เพื่อผลิตดุษฏีบัณฑิตที่มีทักษะทางสังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและแสดงออกถึงภาวะความเป็นผู้นำได้อย่างเหมาะสมกับบทบาทและหน้าที่ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น มีความใฝ่รู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง

แนวทางการประกอบอาชีพ
1) พนักงานฝ่ายผลิต / ฝ่ายประกันคุณภาพ / ฝ่ายออกแบบ วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต/ ฝ่ายวางแผนและควบคุมการผลิต และฝ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกษตร
2) อาจารย์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ หรือนักวิจัยในหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน
3) ประกอบอาชีพอิสระ เช่น เจ้าของกิจการ และที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4) ผู้นำชุมชนด้านวิชาการ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ นักออกแบบผลิตภัณฑ์
5) นักวางผังโรงงานและให้คำปรึกษาด้านวิชาการในประเทศไทย อาเซียนและต่างประเทศ
6) ผู้ให้คำแนะนำและวางแผนด้านโภชนาการเพื่อให้ตรงตามพื้นฐาน

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
เหมาจ่ายภาคการศึกษาละ 15,000 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

ก.แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร             60      หน่วยกิต

หมวดวิทยานิพนธ์                                                60      หน่วยกิต

ข.แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร             90      หน่วยกิต

หมวดวิทยานิพนธ์                                                90      หน่วยกิต

ค.แบบ 2.1        จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร             60      หน่วยกิต

  • หมวดวิชาบังคับ 2      หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือก 13 หน่วยกิต
  • หมวดวิทยานิพนธ์ 45 หน่วยกิต

ง. แบบ 2.2          จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร             90      หน่วยกิต

  • หมวดวิชาบังคับ 10 หน่วยกิต
  • หมวดวิชาเลือก 20 หน่วยกิต
  • หมวดวิทยานิพนธ์ 60 หน่วยกิต