
ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : | หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม |
ภาษาอังกฤษ : | Bachelor of Science Program in Agriculture and Innovation |
ชื่อปริญญาและสาขา
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ |
วิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์และนวัตกรรม) วท.บ. (เกษตรศาสตร์และนวัตกรรม) | |
ชื่อเต็ม ชื่อย่อ |
Bachelor of Science (Agriculture and Innovation) B.Sc. (Agriculture and Innovation) |
ปรัชญา / วัตถุประสงค์
หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม เป็นหลักสูตรที่มุ่งหวังสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการนำเอาหลักของวิทยาการและนวัตกรรมสมัยใหม่มาใช้เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตรได้อย่างมีคุณภาพ เช่น การใช้เครื่องมือเชื่อมต่อฐานข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการตัดสินใจที่แม่นยำในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่าง มีประสิทธิภาพ โดยกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมและครอบคลุมถึงภูมิศาสตร์การเกษตร เน้นให้นักศึกษามีความรู้แบบบูรณาการตั้งแต่ภาคการผลิต การแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าและการประกอบธุรกิจ โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ผสมผสานระหว่างทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติ เน้นการใช้กรณีศึกษาของจริงเป็นตัวอย่าง รวมทั้งการสอนให้นักศึกษาได้รู้จักการค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองตลอดจนสามารถประพฤติและปฏิบัติตนบนพื้นฐานของจรรยาบรรณวิชาชีพ มีความรับผิดชอบ คุณธรรม จริยธรรม ที่สอดคล้องกับปรัชญาของมหาวิทยาลัย มีจิตสำนึกต่อสังคม และผลประโยชน์ส่วนรวมของประเทศ นำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรแบบครบวงจร
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes, ELOs)
1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
PLO1 อธิบายองค์ความรู้ทั่วไปและความรู้ทางนวัตกรรมการเกษตรตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
PLO2 บูรณาการองค์ความรู้ด้านการเกษตรและความรู้ทางด้านธุรกิจการเกษตรได้
PLO3 เลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการเกษตรสมัยใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม
PLO4 เลือกใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสมเพื่อการสื่อสาร และถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมเกษตรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
PLO5 แสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง มีการคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมเกษตร
PLO6 ปฏิบัติตนตามบทบาทและหน้าที่ของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ โดยยึดหลักคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (Year Learning Outcomes, YLOs)
ชั้นปีที่ |
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (Year Learning Outcomes, YLOs) |
1 |
อธิบายหลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะชีวิต และมีแนวคิดและทักษะทางด้านนวัตกรรมการเกษตร |
2 |
อธิบายหลักการพื้นฐานทางนวัตกรรมการเกษตรตามวิชาเอกที่นักศึกษาเลือกเรียนเพื่อผลิตสินค้าเกษตรตามสายงานได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถเชื่อมโยงหลักการทางการเกษตรกับการตลาดและเศรษฐศาสตร์เกษตรได้ |
3 |
มีทักษะการปฏิบัติวิชาชีพทางการเกษตรในวิชาเอกที่นักศึกษาเลือกเรียนและบูรณาการองค์ความรู้เพื่อพัฒนานวัตกรรมการเกษตรโดยและถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรให้ผู้อื่นเข้าใจได้ สามารถเลือกใช้สื่อสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม |
4 |
ปฏิบัติงานทางด้านเกษตรศาสตร์และนวัตกรรมตามสาขาวิชาเอกได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นผู้ที่แสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง |
คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร
1) เป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจ หลักวิชาการพื้นฐานทางนวัตกรรมการเกษตรและสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้จริง
2) เป็นผู้มีความสามารถในการทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่
3) เป็นผู้ประกอบการที่เกี่ยวกับธุรกิจทางด้านการเกษตร หรือในสายงานที่เกี่ยวข้อง
4) เป็นนักวิชาการและนักวิจัย ที่มีความสามารถเป็นผู้นำทางวิชาการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตตลอดจนการพัฒนาท้องถิ่นและสังคมได้
5) เป็นบัณฑิตที่มีความพร้อมในการทำงานร่วมกับผู้อื่นและประกอบอาชีพเกษตรด้วยตนเองได้อย่างยั่งยืน
6) มีจรรยาบรรณ มีจิตสาธารณะ และคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
แนวทางประกอบอาชีพ
1) เกษตรกรอัจฉริยะ (smart farmer) ในธุรกิจฟาร์มเกษตร ทำหน้าที่ควบคุมดูแลการเกษตร เช่น การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่เป็นเครื่องมือ
2) นักวิชาการหรือที่ปรึกษาฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (smart farm advisor) ในบริษัทธุรกิจเกษตรหรือธุรกิจฟาร์มเกษตร เลือกอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่เหมาะสม และดำเนินการสร้างฟาร์มเกษตรที่ทันสมัยแบบต่างๆ
3) นักวิชาการในบริษัทธุรกิจเกษตร ทำหน้าที่จัดการผลิตผลเกษตร วางแผนและควบคุมดูแล การตรวจสอบคุณภาพ เก็บรักษา ขนส่ง ซื้อขาย หรือนำเข้า-ส่งออก ผลิตผลเกษตร
4) เจ้าของธุรกิจฟาร์มเกษตร หรือบริษัทธุรกิจเกษตรทุกประเภท
5) นักวิชาการในหน่วยงานราชการ เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ และกรมประมง ฯลฯ
6) นักวิจัยในหน่วยงานหรือสถาบันวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพ (BIOTEC) ฯลฯ
7) ศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาเกษตรศาสตร์และนวัตกรรม หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ
ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,000.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 240,000.- บาท
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 178 หน่วยกิต
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 40 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาภาษา 19 หน่วยกิต
1.1) กลุ่มวิชาภาษาไทย 3 หน่วยกิต
1.2) กลุ่มวิชาภาษาอังกฤษ 16 หน่วยกิต
2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 6 หน่วยกิต
4) กลุ่มวิชาสหศาสตร์ 9 หน่วยกิต
หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร
ข. หมวดวิชาเฉพาะ 130 หน่วยกิต
1) กลุ่มวิชาพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ | 30 หน่วยกิต | |
2) กลุ่มพื้นฐานเกษตร | 27 หน่วยกิต | |
3) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน | 37 หน่วยกิต | |
3.1) พืชศาสตร์ | 37 หน่วยกิต | |
3.2) สัตวศาสตร์ | 37 หน่วยกิต | |
3.3) เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ | 37 หน่วยกิต | |
4) กลุ่มวิชาเลือกเฉพาะด้าน | 19 หน่วยกิต | |
5) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา | 17 หน่วยกิต |
ค. หมวดวิชาเลือกเสรี 8 หน่วยกิต
สมัครเรียนกับเรา Click https://entry.wu.ac.th/