โลโก้สำนักวิชา

หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ

ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย              หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ)
ภาษาอังกฤษ         Doctor of Philosophy Program in Agriculture (International Program)

ชื่อปริญญาและสาขา
ภาษาไทย :           ชื่อเต็ม  ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (เกษตรศาสตร์)
                             ชื่อย่อ    ปร.ด. (เกษตรศาสตร์)
ภาษาอังกฤษ :      ชื่อเต็ม  Doctor of Philosophy (Agriculture)
                              ชื่อย่อ   Ph.D. (Agriculture)

ปรัชญา/ความสำคัญ
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาเกษตรศาสตร์ (หลักสูตรนานาชาติ) ) เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และมีศักยภาพสูงในด้านการวิจัยด้านการเกษตร มีการบูรณาการงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ระหว่างสหสาขาวิชาเพื่อผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ โดยมีพื้นฐานความรู้ภาษาอังกฤษที่เพียงพอต่อการศึกษาค้นคว้าและการเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง อีกทั้งมีศักยภาพในการสร้างเครือข่ายวิจัยในระดับนานาชาติ และตอบสนองนโยบายของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรื่อง แนวปฏิบัติในการศึกษาของนักศึกษาที่ทำวิทยานิพนธ์ โครงงาน หรือการศึกษาอิสระ โมเดลยุโรป (European Model) พ.ศ. 2561

วัตถุประสงค์

  • เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางเกษตรศาสตร์ สาขาพืชศาสตร์สัตวศาสตร์ หรือ วิทยาศาสตร์การประมง ในระดับนานาชาติ
  • เพื่อยกระดับศักยภาพของอาจารย์/นักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์/นักวิชาการ ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ ให้มีความรู้ความชำนาญเชิงลึกในสาขาวิชาทางด้านเกษตรศาสตร์
  • เพื่อส่งเสริมให้สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตรเป็นแหล่งผลิตผลงานวิจัยและผลิตผลงานทางวิชาการที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าระดับนานาชาติ
  • เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรทางเกษตรศาสตร์ที่มีคุณภาพของหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ
  • เพื่อเพิ่มศักยภาพของการวิจัยในประเทศอันนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขัน และการสร้างนวัตกรรมของตนเอง

แนวทางการประกอบอาชีพ

  • อาจารย์/นักวิจัย/นักวิทยาศาสตร์/นักวิชาการ/ข้าราชการ ในสถาบันหรือหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
  • ที่ปรึกษาทางวิชาการ/ที่ปรึกษาทางการวิจัย ด้านเกษตรศาสตร์ ในสถาบันหรือหน่วยงานของภาครัฐและเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ
  • นักวิจัยหลังปริญญาเอก

ค่าธรรมเนียมการศึกษา
ค่าธรรมเนียม (345,000 บาท/คน/ปี) (สำหรับนักศึกษาต่างชาติ)
ค่าธรรมเนียม (270,000 บาท/คน/ปี)–สำหรับนักศึกษาคนไทย)

โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร                60      หน่วยกิต

                   1) หมวดวิชาบังคับ                                    

                     – รายวิชาสัมมนา                                   6*           หน่วยกิต (*ไม่นับหน่วยกิตแต่จะต้องมีผลการเรียนในระดับ S)

                  2) หมวดวิชาเลือก                                      0        หน่วยกิต

                 3) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์                               60      หน่วยกิต

แบบ 1.2 จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร                90      หน่วยกิต

                   1) หมวดวิชาบังคับ                                    

                   – รายวิชาสัมมนา                                    12*         หน่วยกิต  (*ไม่นับหน่วยกิตแต่จะต้องมีผลการเรียนในระดับ S)

                  2) หมวดวิชาเลือก                                      0        หน่วยกิต 

                 3) หมวดวิชาวิทยานิพนธ์                               90      หน่วยกิต