ชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย: หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม
ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Science (Food Science and Innovation)


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: วิทยาศาสตรบัณฑิต  (วิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม)
ภาษาอังกฤษ:Bachelor of Science (Food Science and Innovation)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์
 มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถด้านสาขาวิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม มีทักษะพร้อมในการปฏิบัติงาน การแก้ปัญหา การออกแบบธุรกิจของตนเองและพัฒนาตนเอง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของท้องถิ่นและการพัฒนาประเทศ  มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ต่างๆ ของโลก และเป็นบัณฑิตที่ยึดมั่นในคุณธรรม  จริยธรรม และมีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
   หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม เป็นหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นกำลังสำคัญต่อการพัฒนาและสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านอุตสาหกรรมอาหารของประเทศตลอดจนตอบสนองตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) นโยบายไทยแลนด์ 4.0 แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ และแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช    นอกจากนี้ยังเน้นการผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านวิชาชีพไปดำเนินกิจการเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงในการออกแบบและผลิตอาหาร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืนของประเทศได้ต่อไป

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes, ELOs)
1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs)
คณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้แบ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (LOs) ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรที่นักศึกษาทุกคนต้องผ่านเกณฑ์ (Program Learning Outcomes) และผลลัพธ์การเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม (Stream Learning Outcomes) ซึ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาที่มีศักยภาพให้มีขีดความสามารถสูงขึ้นตามความสามารถและความสนใจของนักศึกษา

PLO1 มีคุณธรรม จริยธรรม ตระหนักถึงจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมโดยคำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารเป็นสำคัญ
PLO2 มีความรู้พื้นฐานทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติที่เพียงพอในวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ
PLO3 มีสมรรรถนะในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ สำหรับการทำงานทั้งในอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการ
PLO4 สามารถวิเคราะห์ความรู้อย่างเป็นระบบจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม บนพื้นฐานของการใช้เหตุผลด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ
PLO5 สามารถพัฒนานวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ
PLO6 สามารถปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรทั้งด้านอุตสาหกรรมอาหาร โภชนาการ และสังคมทั่วไป
PLO7 มีความรับผิดชอบ มีภาวะผู้นำ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
PLO8 มีทักษะด้านการสื่อสารและเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมอาหารและโภชนาการ
SLO9 สามารถวางแผนและสร้างงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ เพื่อเผยแพร่ในระดับชาติหรือนานาชาติ

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (Year Learning Outcomes, YLOs)

ชั้นปี

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังรายชั้นปี (Year Learning Outcomes, YLOs)

1

สามารถอธิบายความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ และสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม

2

สามารถอธิบายหลักความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในภาพรวมด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งอธิบายแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมอาหารได้

3

สามารถวิเคราะห์สถานการณ์ด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการอย่างเป็นองค์รวมได้ มีทักษะเฉพาะทางในวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ สามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางทฤษฎีสู่การปฏิบัติงานและการพัฒนานวัตกรรมอาหารได้อย่างเหมาะสม 

4

สามารถวางแผนงานด้านวิทยาศาสตร์อาหารและโภชนาการ สามารถใช้เครื่องมือที่เกี่ยวข้องเพื่อการทำงาน มีสมรรถนะและมีทักษะที่เพียงพอในวิชาชีพ สามารถปฏิบัติงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารและสถานประกอบการด้านโภชนาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

1) มีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติทางด้านวิทยาศาสตร์อาหารแบบครบวงจร ตั้งแต่การออกแบบระบบโรงงาน การวางแผนการผลิต กระบวนการผลิต การควบคุมและประกันคุณภาพ การพัฒนาวิจัยผลิตภัณฑ์ การบำบัดและการนำของเหลือทิ้งจากภาคเกษตรและโรงงานมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ การออกแบบธุรกิจและการตลาด การประกอบอาหารด้วยองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์อาหาร
2) มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตสาธารณะ และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมตามจรรยาวิชาชีพ
3) มีทักษะทางปัญญาในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ มีความคิดริเริ่มและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
4) มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย มีทักษะในด้านการติดต่อประสานงานและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
5) มีทักษะความสามารถด้านการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวิเคราะห์เชิงตัวเลข เพื่อสนับสนุนและพัฒนาการปฏิบัติงาน


แนวทางประกอบอาชีพ
1) นักวิชาการ
2)นักวิทยาศาสตร์
3)พนักงานฝ่ายผลิต
4)พนักงานฝ่ายประกันคุณภาพ
5)เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
6)นักออกแบบและวิเคราะห์ระบบโรงงานและกระบวนการผลิต
7)นักทดสอบอาหาร
8)ผู้เชี่ยวชาญผลิตภัณฑ์อาหาร
9)ธุรกิจส่วนตัวด้านอาหาร
10)นักออกแบบอาหาร
11)นักโภชนาการด้านอาหาร
12)ผู้ปรุงอาหาร(Chef)


แนวทางการศึกษาต่อ
สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิทยาศาสตร์อาหารและนวัตกรรม หรือสาขาอื่น ๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 20,000.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 240,000.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร (หลักสูตร 4 ปี)    
 
ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
    40 หน่วยกิต      
1) กลุ่มวิชาภาษา 20 หน่วยกิต      
    1.1) วิชาภาษาไทย 4 หน่วยกิต      
    1.2) วิชาภาษาอังกฤษ 16 หน่วยกิต      
2) กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 8 หน่วยกิต      
3) กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 8 หน่วยกิต      
4) กลุ่มวิชาบูรณาการ 4 หน่วยกิต      
5) กลุ่มวิชาสารสนเทศ 4* หน่วยกิต      
หมายเหตุ *ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร      
ข. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                                                         106 หน่วยกิต      
1) กลุ่มวิชาแกน 21 หน่วยกิต    
2) กลุ่มวิชาบังคับ 45 หน่วยกิต    
3) กลุ่มวิชาเลือก 23 หน่วยกิต    
4) สหกิจศึกษา 17  หน่วยกิต

สมัครเรียนกับเรา Click    https://entry.wu.ac.th/

รายละเอียดข้อมูลหลักสูตรเพิ่มเติม